ใครที่ออกรถตั้งแต่ในปี 2559 ควรศึกษากันไว้ล่วงหน้าเลย สำหรับข้อมูลของ Eco sticker ที่รถทุก ๆ คันจะต้องมี เปรียบเสมือนบัตรประจำตัวของรถ ที่จะแสดงข้อมูลมาตรฐานไอเสีย และรายละเอียดความปลอดภัย ต่าง ๆ ที่รถรุ่นนั้นผ่านการทดสอบมา รวมถึงสมรรถนะของรถคันนั้น ๆ อีกด้วย
สีเขียวที่ใช้ จะแทนค่าความสะอาดของไอเสีย และความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
1.) บอกถึง ปริมาณก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ที่ออกจากรถคันนั้น ๆ มีหน่วย เป็น g / km.
2.) บอกถึง อัตราการใช้น้ำมันอ้างอิง หรือหมายถึงอัตราการใช้น้ำมันโดยเฉลี่ย หน่วยเป็น L / 100 km.
3.) บอกถึง ค่ามาตรฐานสิ่งแวดล้อม มอก. คือการผ่านค่า มาตรฐานมลพิษของอุตสาหกรรม (มาตรฐานบังคับ)
ในส่วน EURO 4, EURO 5 และ EURO 6 ยิ่งได้รับมาตรฐานนี้ สูงเท่าไหร่ยิ่งถือว่าดี เพราะเป็นค่าที่บ่งบอกถึงปริมาณการปล่อยค่า CO2 ของไอเสีย ที่จะบ่งบอกจะมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกด้วย
4.) บอกถึง ข้อมูลความปลอดภัย ที่รถรุ่นนั้น ๆ ได้รับ ว่าผ่านมาตรฐานการทดสอบความปลอดภัยในด้านใดมาแล้วบ้าง
– มาตรฐานระบบเบรก ABS+ ESC การันตีว่าตัวรถดังกล่าวมีการติดตั้ง ABS และ ESC ที่ผ่านการทดสอบแล้ว
– UN R13 เป็นการระบุว่า ได้ผ่านการทดสอบเบรกมาตรฐานเบรก ของ รถตู้ รถบรรทุก รถลาก
– UN R13H เป็นการระบุว่า ได้ผ่านการทดสอบเบรกมาตรฐานเบรก สำหรับรถยนต์นั่งผ่านมาตรฐานการปกป้องผู้โดยสาร
– UN R94 กรณีเกิดการชนที่ด้านหน้าของตัวรถ
– UN R95 กรณีเกิดการชนที่ด้านข้างของตัวรถ
5.) บอกถึง อัตราการบริโภคน้ำมัน โดยวัดจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ UN R101โดยแบ่งเป็น
– สภาวะรวม
– สภาวะในเมือง จราจรติดขัด
– สภาวะนอกเมือง การวิ่งนอกเมือง เป็นต้น
ขอบคุณที่มาของข้อมูล
http://www.car.go.th/new/
http://thaiauto.or.th/2012/news/news-detail.asp?news_id=3188